หัวข้อ อารมณ์ความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ ต่อกรณีสลายม็อบพันธมิตรฯ
                  จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ตำรวจ
ทำการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551
ซึ่งรัฐบาลมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อสภาฯ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้จัดทำโครงการ
สำรวจเรื่อง “
อารมณ์ความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ ต่อกรณีสลายม็อบพันธมิตรฯ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,180 คน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อการที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่บริเวณรัฐสภา
                 เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แถลงนโยบาย

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า
- ตำรวจทำตามหน้าที่
  - เป็นวิธีการที่ใช้กันเป็นสากล
  - พันธมิตรชุมนุมยืดเยื้อเกินไป ไม่มีจุดยืนที่
  ชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่
  - การกระทำของพันธมิตรสร้างความวุ่นวาย
  / สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ
  - การเข้ายึด / ปิดล้อมสถานที่ราชการเป็น
  การกระทำที่ไม่สมควร
  - ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ทำงาน
  ตามหน้าที่
  - มองไม่เห็นวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ ฯลฯ
44.9
ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า
- เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ
  - ตำรวจไม่มีสิทธิทำร้ายประชาชน
  - ควรใช้วิธีการที่นุ่มนวลกว่านี้ เช่น ใช้การ
  เจรจา ฉีดน้ำ หรือเลื่อนการแถลงนโยบาย
  ออกไปก่อน
  - ควรแก้ปัญหาด้วยสมองมากกว่าใช้กำลัง
  - ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง
  บานปลายมากยิ่งขึ้น
  - ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทยเสียหาย ฯลฯ
55.1
 
             2. ความคิดเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

 
ร้อยละ
เห็นว่าเหมาะสมแล้ว
โดยให้เหตุผลว่า
- เป็นการแสดงความรับผิดชอบ
  - รัฐบาลไม่ให้เกียรติ
  - ไม่สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้
  - ไม่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริง
  - อยู่ต่อไปก็แก้ปัญหาไม่ได้
  - ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
  - อายุมากแล้ว ควรเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ ฯลฯ
64.6
เห็นว่าไม่เหมาะสม
โดยให้เหตุผลว่า
- การลาออกไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
  - ลาออกเร็วเกินไป ยังไม่ได้เริ่มต้นทำงานเลย
  - เป็นการเอาตัวรอด ขาดภาวะผู้นำ
  - ควรอยู่ช่วยกันแก้ปัญหาไปก่อน ฯลฯ
35.4
 
             3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์
                 สลายกลุ่มผู้ชุมนุม พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก
6.6
ค่อนข้างเชื่อมั่น
26.3
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
40.2
ไม่เชื่อมั่นเลย
26.9
 

             4. ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้

 
ร้อยละ
ใช้การเจราจาพูดคุย
 
โดยผู้ที่ประชาชนเห็นว่า
เหมาะสมจะเป็นคนกลาง
ในการเจรจา ได้แก่
    

- ผู้บัญชาการกองทัพบก
- พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
- สสร.3
- ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ฯลฯ
28.0
ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
46.8
ทำรัฐประหาร
11.0
ยังมองไม่เห็นทางออกที่เหมาะสม
4.8
อื่นๆ
เช่น
- ใช้หลักกฎหมายมาตัดสิน
  - ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้
  เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย
  - ถอยคนละก้าวโดยให้รัฐบาลยุติเรื่องการ
  แก้รัฐธรรมนูญและพันธมิตรยุติการชุมนุม
  - จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
  - ให้รัฐบาลได้บริหารประเทศไปก่อน
  - ให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล
  - ทำอย่างไรก็ได้ให้บ้านเมืองสงบ  ฯลฯ
9.4
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                         1. การที่ตำรวจใช้น้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่รัฐสภา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาล
                             นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แถลงนโยบาย
                         2. ความเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
                         3. ความเชื่อมั่นที่มี่ต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติงานตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังเกิด
                             เหตุการณ์ดังกล่าว
                         4. ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น
สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,180 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 53.2 และเพศหญิงร้อยละ 46.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 8 ตุลาคม 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 ตุลาคม 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
627
53.2
             หญิง
553
46.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
272
23.1
             26 - 35 ปี
353
29.9
             36 - 45 ปี
318
26.9
             46 ปีขึ้นไป
237
20.1
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
583
49.4
             ปริญญาตรี
567
48.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
30
2.5
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
220
18.6
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
315
26.7
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
235
19.9
             รับจ้างทั่วไป
190
16.2
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
70
5.9
             อื่นๆ อาทิ นิสิต/นักศึกษา อาชีพอิสระ
             ว่างงาน
17
1.5
รวม
1,180
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776